top of page

สมองกำลังขี้เกียจอยู่รึเปล่า

  • รูปภาพนักเขียน: Pikmy Pymik
    Pikmy Pymik
  • 22 มิ.ย.
  • ยาว 1 นาที
your brain is lazy?
สมองขี้เกียจอยู่รึเปล่า

อยากถามทุกคนว่า ในยุค ai ที่ทุกคนต้องปรับตัวใช้เครื่องมือใหม่ๆ กันอย่างสนุกสนาน เคยมีใครถามตัวเองบ้างมั้ยว่า ครั้งสุดท้ายที่เขียนบทความหรือเขียนอะไรซักอย่าง จากต้นจนบจบด้วยความคิดของตัวเองล้วนๆ ตั้งแต่เมื่อไหร่ มีใครเอ๊ะบ้างมั้ย ว่าสมองกำลังขี้เกียจอยู่รึเปล่า และถ้าคุณกำลังพยายามนึกอยู่ คุณไม่ได้เป็นคนเดียว

ล่าสุดนักวิจัยจากนักเรียน MIT (อ่านวิจัยต่อ คลิก) ค้นพบข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ AI ส่งผลต่อสมองของเราในระยะยาว


วิจัยพบว่าใช้ ChatGPT ทำให้สมองฝ่อ
brain on chatgpt
Brain on ChatGPT

ผลกระทบกับวิธีคิด

ลองนึกภาพตาม ถ้าเรากำลังเขียนอีเมลสำคัญ หรือบทความชิ้นนึง เมื่อสองปีก่อน เราอาจจะ:

  • จ้องหน้ากระดาษโล่งๆ ด้วยสายตาที่ว่างเปล่าอยู่พักใหญ่

  • ทรมานกับการหาคำพูดสวยๆ เขียนวนๆ อีก 2 รอบ

  • อาจจะเขียนแบบห่วยๆ ออกมา 3-4 รอบ ก่อนจะกลับมาแก้ไขที่ฉบับแรก 

ตอนนี้ เพียงพิมพ์คำสั่งง่ายๆ ลงไปใน ChatGPT เราก็จะได้บทความหรืออีเมลในเวอร์ชั่นที่สวยหรูในไม่กี่วินาที สุดยอดไปเลยใช่รึเปล่า? แต่ระยะยาว เราอาจจะไม่ได้สังเกตสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ 

สมองจะหยุดออกกำลังกาย ทุกครั้งที่เราต้องเริ่มคิด หรือว่าเริ่มเขียนอะไรซักอย่าง นั่นคือ เรากำลังออกกำลังกายและสร้างเส้นทางประสาทในสมอง มันเหมือนกับการยกเวทให้สมองนั่นแหละ พอ AI มาช่วยยกของหนัก กล้ามเนื้อสมองด้านความคิดเหล่านั้นก็เริ่มง่อยลง ความทรงจำที่หายไป จากวิจัย บอกว่า “เราจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น เมื่อเราเป็นคนสร้างมันขึ้นมาเอง” ส่วนเนื้อหาที่ AI ทำให้ มันจะเลือนหายไหลออกจากสมองเหมือนลมที่ผ่านหูไปเลย เพราะสมองเราไม่ได้ออกแรงสร้างมันขึ้นมา กับดักความคิด ยิ่งเราอยากได้คำตอบที่แสนไฮโซสวยหรูจากมากเท่าไหร่ ความคิดของเราเองก็จะมีแนวโน้มเลียนแบบกรอบและรูปแบบของเนื้อหาของ AI มากเท่านั้น หากว่ามีการใช้งานสมองด้านความคิดรูปแบบนี้บ่อยๆ ความสร้างสรรค์และการคิดนอกกรอบจะกลายเป็นเรื่องยากขึ้นเรื่อยๆ


จะสนใจไปทำไม? 

จั่วหัวเรื่องการเขียน แต่ไม่ใช่หมายถึงแค่เรื่องการเขียนเท่านั้นนะ แต่มันเกี่ยวกับการทำงานของสมองด้านการใช้ความคิดเต็มๆ  เช่น ถ้าให้อธิบายความคิดเชิงซ้อนในห้องประชุม แบบไม่ใช้ AI หรือ การจดจำเนื้อหาและเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ แบบไม่ใช้ AI สรุป เป็นต้น 

จากวิจัยล่าสุดของ MIT พบว่าคนที่พึ่งพา AI ในการทำงานมากเกินไป จะ…

  • จดจำเนื้อหาของตัวเองได้แย่ลง 40%

  • ความสามารถในการพัฒนาด้านความคิดและวิเคราะห์เชิงซับซ้อนลดลง

  • มีความกังวลเพิ่มขึ้นเมื่อถูกขอให้ใช้ความสามารถส่วนตัวโดยไม่พึ่งพา AI 


แล้วจะใช้ยังไง ไม่ให้เสียสมดุลของสมอง

ที่อ่านมานี่ วิจัยไม่ได้บอกว่าห้ามใช้นะ แต่ว่าให้ใช้เพื่อเป็นตัวเสริมความสามารถของสมอง เรามีมาแนะนำ 3 วิธี 

1. กฎของสมอง 30% ให้ลองร่างความคิดด้วยตัวเอง 30% แล้วค่อยพึ่ง AI เช่น ลองร่างประเด็นหลักที่ต้องการสำหรับส่งอีเมลก่อนที่จะใช้เครื่องมือ เป็นต้น

2. ทดสอบ "การอธิบายแบบไหลย้อนกลับ" หลังจากได้ข้อมูลจาก AI แล้ว ให้ลองปิดแชด แล้วอธิบายเนื้อหาด้วยคำของตัวเอง และลองสังเกตว่าติดขัดตรงไหน ตรงนั้นแหละคือช่องว่างที่หายไป ให้ลองทดสอบการไหลย้อนอีกรอบ

3. รับบทนักแก้ แทนบทผู้รับอย่างเดียว  หลังจากได้ข้อมูลจาก AI แล้ว ให้เขียนใหม่ให้เป็นสไตล์ของตัวเองอย่างน้อย 30% แล้วลองพูด ลองทวนถามตัวเองว่า: "นี่มันอ่าน/ฟังดูเหมือนคำพูดของเรารึเปล่า” หากว่ายังไม่เป็นแบบของตัวเอง ให้เพิ่มตัวอย่างและประสบการณ์ส่วนตัวเข้าไป


สมอง…ของมีค่าที่ควรรักษา

ถ้าเปรียบสมอง เป็นรถยนต์ที่มีสมรรถนะสูง และ AI เป็นระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติที่โคตรเก่ง แต่ถ้าเราไม่ขับเอง เราจะลืมวิธีขับที่ถูกต้องและปลอดภัย เวลาที่จะต้องใช้จริงมันจะใช้ไม่ได้เหมือนเดิม หากว่าจะใช้ ไม่ได้แปลว่าต้องใช้ให้มากที่สุด ที่จริงแล้วต้องใช้อย่างมีกลยุทธ์มากที่สุดต่างหาก 


ลองสังเกตตัวเองดู


Comentarios

Obtuvo 0 de 5 estrellas.
Aún no hay calificaciones

Agrega una calificación

Drop Me a Line, Let Me Know What You Think

Thanks for submitting!

© 2020 by Lost Journey. Proudly created by Pikmy

bottom of page